สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 4-10 ธันวาคม 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.838 ล้านไร่ ผลผลิต 26.712 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 425 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 25.026 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.88 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.099 ล้านไร่ ผลผลิต 7.199 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 649 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 11.01 ร้อยละ 11.78 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 67.08
ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67
มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับ   กรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 - 31 มีนาคม 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,289 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,302 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,080 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,149 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 30,510 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.39
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,200 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,250 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 847 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,548 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 858 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,826 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 278 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 631 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,012 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 640 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,247 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 235 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 626 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,838 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 634 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,039 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 201 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.8850 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย-อินโดนีเซีย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทร ศรีสรรพางค์) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ติดตามสถานการณ์การค้าสินค้าข้าว พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2566 อินโดนีเซียเป็นตลาดส่งออกข้าวอันดับ 1 ของไทย เนื่องจากอินโดนีเซียกำลังประสบปัญหาขาดแคลนข้าวเพราะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภัยแล้ง รวมทั้งการเข้าสู่ฤดูมรสุมที่ล่าช้า ส่งผลให้อินโดนีเซียปลูกข้าวได้น้อยลง
ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 รายงานว่า ในปี 2566/67 อินโดนีเซีย    มีพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 11.3 ล้านเฮกตาร์ (ประมาณ 70.6 ล้านไร่) ผลผลิตประมาณ 33.5 ล้านตันข้าวสาร ทั้งพื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต ลดลงในสัดส่วนเท่ากันที่ร้อยละ 3 จากที่คาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2566 เนื่องจากประสบภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณเกาะชวาและพื้นที่บางส่วนของเกาะสุมาตราตอนใต้ ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถเริ่มปลูกข้าวได้ตามช่วงเวลาที่เคยเพาะปลูก และทำให้เกษตรกรบางส่วนที่อยู่ในเขตปลูกข้าวบนพื้นที่ราบสูงที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ต้องปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน เช่น ข้าวโพด เป็นต้น ทั้งนี้ ในปีที่มีสภาพภูมิอากาศปกติ อินโดนีเซียสามารถปลูกข้าวได้ปีละ 3 รอบ โดยรอบแรกปลูกในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนตุลาคม - ธันวาคม คิดเป็นร้อยละ 45 ของการปลูกข้าวทั้งปี และเริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ส่วนที่เหลืออีก 2 รอบ เป็นการปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้ง
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้อินโดนีเซียมีการนำเข้าข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น โดยในปี 2565 ไทยส่งออกข้าว ไปยังอินโดนีเซียปริมาณ 91,714 ตัน มูลค่า 42.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1,474 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 1.06 ของมูลค่าการส่งออกข้าวไทยทั้งหมด ซึ่งอินโดนีเซียเป็นตลาดส่งออกข้าวอันดับที่ 20 ของไทย สำหรับในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม 2566 ไทยส่งออกข้าวไปยังอินโดนีเซียปริมาณ 1,057,537 ตัน มูลค่า 523.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 18,261 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 13.19 ของมูลค่าการส่งออกข้าวไทยในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2566 ทำให้ปัจจุบันอินโดนีเซียกลายเป็นตลาดส่งออกข้าวอันดับ 1 ของไทย โดยเฉพาะข้าวขาว 5% และ 10%
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.8850 บาท
2) เวียดนาม
อธิบดีกรมการเพาะปลูกพืช กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม กล่าวว่า ข้าวเวียดนามได้รับรางวัลข้าวดีที่สุดในโลก ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นในภายในงานประชุมข้าวนานาชาติ (The 2023 International World Rice Conference Summit ) ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 28 - 30 พฤศจิกายน 2566 โดยมีผู้ประกอบการค้าข้าวของเวียดนาม จำนวน 3 ราย ส่งพันธุ์ข้าว 6 สายพันธุ์เข้าร่วมการประกวด ประกอบด้วย (1) วิสาหกิจเอกชน Ho Quang Tri ส่งพันธุ์ข้าว ST24 และ ST25 (2) บริษัท Loc Troi Group ส่งพันธุ์ข้าว LT28 และ Nang Hoa 9 และ (3) บริษัท Thai Binh Seeds Group ส่งพันธุ์ข้าว TBR39-1 และข้าวเหนียวพันธุ์ A Sao เข้าร่วมประกวด ผลการตัดสินของคณะกรรมการปรากฎว่า อันดับที่ 1 ข้าวเวียดนาม อันดับที่ 2 ข้าวกัมพูชา และอันดับที่ 3 ข้าวอินเดีย
อธิบดีกรมการเพาะปลูกพืช กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการตัดสินดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ข้าวเวียดนามมีคุณภาพ และมีชื่อเสียงในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นการยืนยันถึงการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมข้าวของเวียดนามว่ามีการพัฒนาในทิศทางที่ถูกต้องและบรรลุผลสำเร็จ โดยข้าวเวียดนามได้รับการขนานนามว่าเป็นข้าวที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งส่งผลเชิงบวกต่อภาพลักษณ์ และการส่งออกข้าวของเวียดนาม โดยเฉพาะข้าวที่มีคุณภาพสูง รวมทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ภาคท้องถิ่น ภาคธุรกิจ และภาคเกษตรกร ร่วมลงทุนในการผลิตข้าวดังกล่าวอีกด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม รายงานว่า การส่งออกข้าวในช่วงเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2566 มีมูลค่า 4,410 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 153,843 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยราคาข้าวในปัจจุบันปรับสูงขึ้น เช่น ข้าวหัก 5% ตันละ 663 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณตันละ 23,129 บาท) ข้าวหัก 25% ตันละ 643 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณตันละ 22,431 บาท) และข้าวหอมมะลิ ตันละ 748 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณตันละ 26,094 บาท)
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.8850 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 19.24 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.97 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.62 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,204.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 289.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,046.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 158.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 465.00 เซนต์ (6,465.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 456.00 เซนต์ (6,322.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.97 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 143.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน
และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.696 ล้านตัน (ร้อยละ 9.65 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.452 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.03 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.00
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.56 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.53 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.40
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.75 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.57
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.30 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.19 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.57
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 272.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,580 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 273.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,590 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.37
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 580.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,160 บาทต่อตัน)  ราคาสูงขึ้นจากตันละ 575.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,160 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.87


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.100 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.198 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.403 
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 21.60 และร้อยละ 21.74 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.08 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.72 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.19
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.00 บาท ลดลงจาก กก.ละ 32.15 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.69
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มล่วงหน้า เปิดตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ในวันที่ 11 ธันวาคม 2566 เคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันถั่วเหลืองที่ปรับตัวสูงขึ้น ราคาอ้างอิงน้ำมันปาล์ม รอบส่งเดือนกุมภาพันธ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.32 อยู่ที่ตันละ 3,752 ริงกิต
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,621.77 ริงกิตมาเลเซีย (27.63 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,748.96 ริงกิตมาเลเซีย (28.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.39
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 951.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.56 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 964.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.40
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2566 มีมติเห็นชอบเงินสนับสนุนตัดอ้อยสด ในโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ซึ่งจะใช้งบประมาณของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) โดยชาวไร่อ้อยจะได้รับเงินสนับสนุนตัดอ้อยสด 120 บาทต่อตัน คาดว่ามีชาวไร่อ้อยที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 140,000 ราย
ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในเดือนมกราคม 2567
 
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- Czarnikow คาดการณ์ว่าในปี 2566/2567 จะมีน้ำตาลโลกส่วนเกิน (Surplus) ประมาณ 200,000 ตัน โดยสาเหตุหลักมาจากปริมาณผลผลิตน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นในภาคกลาง – ใต้ของบราซิล ด้านผู้ค้าเสริมว่า สภาพอากาศ
และการขนส่งที่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ของบราซิลส่งผลให้ตลาดอยู่ในช่วงขาลง อย่างไรก็ตาม ราคาได้ปรับตัวขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566 จากการเข้ามาซื้อน้ำตาลคืนจากตลาด (Short Covering)
ด้านบริษัททางการเงิน JP Morgan คาดการณ์ว่า ราคาน้ำตาลในตลาดซื้อขายล่วงหน้าจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ในขณะเดียวกัน Fitch Ratings คาดว่าราคาซื้อขายน้ำตาลในตลาดล่วงหน้าจะอยู่ที่ 23.50 เซนต์/ปอนด์ 
ในปี 2567 ซึ่งลดลงจาก 24.60 เซนต์ต่อปอนด์ในปี 2566
-  สื่อท้องถิ่นของประเทศอินเดีย รายงานว่า ฝนตกนอกฤดูกาลส่งผลให้การเก็บเกี่ยวอ้อยทางตอนใต้ของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) หยุดชะงัก รวมถึงความล่าช้าที่เกิดจากการประท้วงของชาวไร่อ้อย
โดยมีรายงานเรื่องไร่อ้อยนอกเขตชลประทานในอำเภอโซลาเปอร์ (Solapur) มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยลดลงเนื่องจากภัยแล้งในช่วงก่อนหน้า ด้านชาวไร่อ้อย รายงานว่า สภาพอากาศที่มีฝนตกอาจส่งผลกระทบ
ต่อการตัดอ้อยต่อไปอีกประมาณ 1 - 2 สัปดาห์



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 15.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.40 บาท 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,304.52 เซนต์ (16.83 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,338.12 เซนต์ (17.27 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.51
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 425.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 444.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 50.57 เซนต์ (39.14 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 52.32 เซนต์ (40.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.34

 
 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.07 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 11.60
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.80 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.88
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,006.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,007.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 803.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 828.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.93 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.75 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,468.50 ดอลลาร์สหรัฐ (51.22 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,470.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 948.25 ดอลลาร์สหรัฐ (33.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 949.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,029.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.90 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,030.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.72 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.55 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 11.49
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,922  บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,065  บาท คิดเป็นร้อยละ 6.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,382 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,498 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัว เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  65.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.29 คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 62.01 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.47 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.58 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.06 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.90 คิดเป็นร้อยละ 1.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคลดลงกว่าผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.27 คิดเป็นร้อยละ 0.99 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.29 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคา      ลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 คิดเป็นร้อยละ 1.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 379 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 361 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 395 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 431 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 412 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 407 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 422 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 385 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 440 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 465 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.84 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.56 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 81.31 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 66.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.80 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 - 10 ธันวาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.56 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา         
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.03 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.51 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 121.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 126.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 123.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 68.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.75 บาท